ช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

วันที่นำเข้าข้อมูล 11 ม.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 11 ม.ค. 2566

| 481 view

นอกเหนือจากการนำช้างเผือกมาใช้ในธงชาติสยาม ธงชาติไทย และธงราชทูตแล้ว สัญลักษณ์ช้างเผือกยังถูกนำมาใช้ในการจัดประเภทของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงประกาศให้ใช้ “ธงช้าง” เป็นธงประจำชาติ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราช้างเผือกขึ้น โดยเป็นเหรียญที่ทำจากทองคำสลักรูปช้างเผือก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสยาม และครอบด้วยชฎาพระมหากษัตริย์ไทยอันแสดงถึงความหมายของพระนามของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมที เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวมีไว้สำหรับพระราชทานแด่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศเพื่อเป็นการตอบแทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชวงศ์ไทยได้รับพระราชทาน นอกจากนี้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยังใช้เพื่อพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ รวมทั้งทูตานุทูตยุโรปและต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติภารกิจในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับสยามอีกด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระราชบัญญัติให้ปรับปรุงและสร้างตำแหน่งและชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราช้างเผือกได้ถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือกสยาม และมีการปรับเปลี่ยนลักษณะการออกแบบของเหรียญจากขอบดาวเป็นกลีบบัวและเปลี่ยนชฎาพระมหากษัตริย์เป็นมงกุฎ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือกสยามเดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ทรงมีพระราชดำริให้แยกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือกสยามออกมาให้เป็นตระกูลหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก” และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประกอบด้วย 8 ชั้น โดยแบ่งเป็นชั้นตรา 6 ชั้น และเหรียญ 2 ชั้น

ñÏ│¬¡Ê_1-1_RUAA80200_1_