การจดทะเบียนหย่า

การจดทะเบียนหย่า

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 15 ก.พ. 2566

| 1,165 view
  • การขอจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะทำได้เฉพาะในกรณีที่เป็นการหย่า โดยความยินยอมสมัครใจของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น
  • การขอจดทะเบียนหย่าทั้งสองฝ่ายจะต้องไปติดต่อยื่นคำร้องด้วยตนเอง ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เนื่องจากการจดทะเบียนหย่านั้น ผู้ร้องขอจดทะเบียนหย่าต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยานสองคน

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนหย่า  (ผู้ร้องขอจดทะเบียนหย่าทั้งสองฝ่าย แสดงความยินยอมที่จะจดทะเบียนหย่า)

  1. เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนหย่า
  2. ผู้ยื่นคำร้องทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ต้องยื่นเอกสารเหมือนกัน ดังนี้
  3. คำร้องขอนิติกรณ์ | ดาวน์โหลด |
  4. คำร้องขอจดทะเบียนหย่า และบันทึกคำสอบสวน | ดาวน์โหลด |
  5. ทะเบียนสมรสตัวจริง และใบ คร.2 ของทั้งสองฝ่าย
  6. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา คนละ 1 ชุด
  7. ทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา คนละ 1 ชุด
  8. ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเดนมาร์ก พร้อมสำเนา คนละ 1 ชุด

หมายเหตุ ท่านสามารถติดต่อขอรับแบบคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยสอดซองเปล่าปิดแสตมป์ และจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองพร้อมที่อยู่ให้ชัดเจน โดยส่งถึง Royal Thai Embassy, Consular Section, Norgemindevej 18, 2900 Hellerup, Copenhagen, Denmark ระบุมุมซองว่า “ ขอคำร้องจดทะเบียนหย่า ”

ขั้นตอนการจดทะเบียนหย่า

  • ติดต่อฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อนัดหมายวัน และเวลา ล่วงหน้า
  • ในวันนัดหมาย ผู้ร้องขอจดทะเบียนหย่าต้องไปปรากฎตัวต่อหน้านายทะเบียนทั้งสองคน
  • ผู้ร้องขอจดทะเบียนหย่า ควรนำพยานบุคคล 2 คน ไปด้วย

ค่าธรรมเนียม (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

ข้อมูลการใช้นามสกุลหลังสมรสตามกฎหมายไทย
ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 หลังการหย่าฝ่ายหญิงทุกคนต้องกลับมาใช้นามสกุลเดิมของตน

หมายเหตุ เมื่อจดทะเบียนหย่าแล้ว ฝ่ายหญิงจะต้องรีบไปดำเนินการแก้ไขทะเบียนราษฏรและขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนให้ถูกต้อง ณ อำเภอท้องที่ตามทะบียนบ้านไทย พร้อมทั้งทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่โดยทันทีที่เดินทางกลับประเทศไทย

**********************

กรุณาติดต่อขอนัดก่อนเพื่อความสะดวก และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน (ฝ่ายกงสุล)
 อีเมล์ [email protected]