เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๗ นางศิริลักษณ์ นิยม เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ได้พบหารือกับ Ms. Henriette Kristensen ตำแหน่ง Head of Department for Geopolitics ที่กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก เพื่อขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) ของไทย

เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๗ นางศิริลักษณ์ นิยม เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ได้พบหารือกับ Ms. Henriette Kristensen ตำแหน่ง Head of Department for Geopolitics ที่กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก เพื่อขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) ของไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 พ.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 7 พ.ค. 2567

| 306 view
เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๗ นางศิริลักษณ์ นิยม เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ได้พบหารือกับ Ms. Henriette Kristensen ตำแหน่ง Head of Department for Geopolitics ที่กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก เพื่อขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) ของไทย
 
ประเทศไทยได้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ OECD ต่อสำนักเลขาธิการ OECD อย่างเป็นทางแล้วเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ โดยไทยได้มีความร่วมมือกับ OECD มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ผ่านโครงการ Country Programme ระยะที่ ๑ และระยะที่ ๒ รวมถึงได้เข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD จำนวน ๑๐ ฉบับ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ไทยมีความก้าวหน้าในการพัฒนานโยบายทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการหารือเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีจุดหมุ่งหมายเพื่อให้ไทยเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD เพื่อยกระดับมาตรฐานนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ให้ทัดเทียมสากล ผ่านการปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และช่วยให้ไทยสามารถก้าวพ้นกับดับรายได้ปานกลางและบรรลุเป้าหมายของการเป็นประเทศพัฒนาภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๐
 
OECD เป็นองค์การระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศหุ้นส่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านสีเขียว การลดความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและดิจิทัล การพัฒนาระบบจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศ และการส่งเสริมการค้าเสรีที่เปิดกว้างและโปร่งใส ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น ๓๘ ประเทศ มีรายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ยในปี ๒๕๖๕ ประมาณ ๔๓,๒๖๑ ดอลล่าร์สหรัฐ หรือกว่า ๓.๔ เท่าของค่าเฉลี่ยของทั้งโลก
 
438162278_863616845808918_6046722155881758685_n