การฉลองครบรอบ 60 ปี ช้างไทยพระราชทานในเดนมาร์ก – สัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างสองราชอาณาจักร

การฉลองครบรอบ 60 ปี ช้างไทยพระราชทานในเดนมาร์ก – สัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างสองราชอาณาจักร

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 ม.ค. 2566

| 953 view

ช้างเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและยาวนานระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรเดนมาร์กในทุกระดับ มานานหลายศตวรรษ นับตั้งแต่ระดับราชวงศ์จนถึงระดับประชาชนของทั้งสองประเทศ

ช้างไทยสองเชือกแรกเดินทางมายังเดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2421 โดยนาย Frederik Købke กงสุลเดนมาร์กประจำกรุงเทพฯ ได้นำ “อิน” และ “จัน” มามอบให้แก่สวนสัตว์โคเปนเฮเกนเป็นของขวัญ และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พลเรือเอก Andreas du Plessis de Richelieu ซึ่งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในกองทัพเรือสยาม ได้มอบช้างพัง (ช้างเพศเมีย) อีก 2 เชือก นามว่า “เอเลน” และ “เบบี้” เป็นของขวัญแก่สวนสัตว์โคเปนเฮเกน

ช้างไทยและพระราชวงศ์ไทยกับเดนมาร์ก

นอกจากนี้ พระราชวงศ์ไทยได้พระราชทานช้างเป็นของขวัญแก่ราชวงศ์เดนมาร์กถึงสองครั้ง โดยเมื่อปี พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานช้าง 2 เชือก นามว่า “เชียงใหม่” และ “บัวผา” แด่สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 และสมเด็จพระราชินีอินกริด เนื่องในโอกาสเสด็จฯ เยือนไทยระหว่างวันที่ 12 – 24 มกราคม พ.ศ. 2505 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานช้าง 2 เชือก นามว่า “ต้นสัก” และ “กันเกรา” แด่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 และเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามีเนื่องในโอกาสเสด็จฯ เยือนไทยระหว่างวันที่ 7 -12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ในโอกาสดังกล่าว ชาวจังหวัดสุรินทร์ได้มอบช้างพังนาม “สุรินทร์” เป็นของขวัญแก่ชาวเดนมาร์กเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองราชอาณาจักร

ในปี พ.ศ. 2556 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนเดนมาร์กเป็นการส่วนพระองค์และเสด็จเยี่ยมสวนสัตว์โคเปนเฮเกนพร้อมทั้งตั้งชื่อลูกช้างที่มีอายุเพียงสองสัปดาห์ในขณะนั้นว่า “เขาสก” ซึ่งเป็นลูกช้างที่เกิดจาก “เชียงใหม่” และ “กันเกรา”

“เชียงใหม่” ถูกการุณยฆาตเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เนื่องจากความชราและโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยมีอายุขัย 58 ปี “เชียงใหม่” ถือเป็นช้างที่มีอายุมากที่สุดในยุโรปและได้รับฉายาเป็น “ปู่ทวดของช้าง” ในยุโรป เนื่องจาก “เชียงใหม่” เป็นพ่อพันธุ์ให้กำเนิดช้างอีกหลายสิบเชือกในระยะเวลา 55 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกระจายอยู่ในสวนสัตว์หลายแห่งทั่วยุโรป

ปัจจุบัน สวนสัตว์โคเปนเฮเกนมีช้างไทยอยู่ 7 เชือก ได้แก่ “กันเกรา” “สุรินทร์” “มูน” (เกิดจาก “สุรินทร์” และ “ช้าง”) ซึ่งเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2563 “ฟาฮีม” “กุมารี มหา” และ “จังบุล” ส่วนช้างพลาย “ต้นสัก” ทางสวนสัตว์โคเปนเฮเกนได้ให้สวนสัตว์ในสวีเดนยืมเป็นพ่อพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

ñÏ│¬¡Ê_1-8_RUAA80200_1_

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ