ปัญหาหมูๆ ที่ไม่หมู

ปัญหาหมูๆ ที่ไม่หมู

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 ต.ค. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,087 view

 

 

ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เหล่านักจุลชีว- วิทยาได้เสนอแนวคิดในการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในอุตสาห-กรรมปศุสัตว์ เพื่อขุนให้สัตว์อ้วนขึ้น หรือมีปริมาณเนื้อเพิ่ม มากขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวอาจสร้างปัญหาต่อสุขภาพของ มนุษย์ในอนาคต เพราะอาจมีการกลายพันธุ์ของแบคทีเรีย ที่พบอยู่ในธรรมชาติของสัตว์และเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม กลุ่มเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ได้ให้ความ คิดเห็นว่าการกำจัดหรือลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะจะทำ ให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์มีผลกระทบในด้านของต้นทุนและต้องขึ้นราคาสินค้าซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ตามจากผลงานวิจัยตลอด 1 ปี ที่ผ่านมาพบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะแม้จะเป็นเพียงปริมาณน้อยในสัตว์ มีผลเป็นการเพิ่มการกลายพันธุ์ของเชื้อจุลินทรีย์ (Microbe) ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น ซึ่งเมื่อตรวจสอบชนิดของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะในสัตว์จะตรงกับเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะในคน ดังนั้น ประเทศเดนมาร์กจึงออกข้อบังคับห้ามใช้ยาปฏิชีวนะปริมาณตํ่าในสัตว์ เช่น ไก่ สุกร และฟาร์ม ปศุสัตว์อื่นๆ

โดยทั่วไป เกษตรกรในหลายประเทศนำยาปฏิชีวนะมาใช้ในการรักษาสัตว์ให้หายจากอาการเจ็บป่วย หรือเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น และเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณน้อย จะเป็นการเพิ่มปริมาณของเนื้อสัตว์ หรือป้องกันสัตว์จากการเจ็บป่วย

หลังจากการออกข้อบังคับดังกล่าว พบว่า หลังจากที่เจ้าของฟาร์ม ได้ปล่อยให้แม่สุกรและลูกได้ฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ผลปรากฎว่า แม่สุกรมีนํ้าหนัก เพิ่มขึ้นจนมีระดับปกติ และมีอัตราการให้กำเนิดลูกสุกรมากกว่าเดิมเล็กน้อย ภายใต้การควบคุมความสะอาดของคอก การเพิ่มพื้นที่คอก และการทิ้งช่วงระยะเวลาในการผสมพันธุ์ให้เพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์รายงานว่า มีผลผลิตมากกว่าในอดีตที่ยังมีการใช้ ยาปฏิชีวนะอยู่

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการแพร่ของเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ในปัจจุบัน เราพบเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะสายพันธุ์ ใหม่ ซึ่งเชื้อกลายพันธุ์บางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคในคนในที่สุด

ดังนั้น ตัวอย่างของการหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะใน ปศุสัตว์ดังเช่นประเทศเดนมาร์กที่ไม่มีผลกระทบต่อการผลิตและรายได้ของผู้เลี้ยง โดยที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ถือเป็น แนวทางที่หลายประเทศควรปฏิบัติตาม เพื่อลดโอกาสในการเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อในอนาคต

Photo: http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=our-big-pig-problem

Read more: http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=our-big-pig-problem