วันที่นำเข้าข้อมูล 13 เม.ย. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
สถานะวันที่ 29 ก.พ. 2563
สอท. ณ กรุงโคเปนเฮเกน ขอรายงานเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 ในเดนมาร์ก (สถานะ วันที่ 29 ก.พ. 2563) ดังนี้
1. จากเว็บไซต์ของ Danish Health Authority และ Danish Patient Safety Authority พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในเดนมาร์ก เพิ่มเติมอีก 2 ราย ในวันที่ 28 - 29 ก.พ. 2563 รวมยอดผู้ติดเชื้อในเดนมาร์กแล้วทั้งสิ้น 3 ราย
2. บุคคลแรกเป็นชายชาวเดนมาร์กที่เริ่มมีอาการป่วยหลังจากกลับจากการพักผ่อนเล่นสกีทางตอนเหนือของอิตาลี (เข้ารับการตรวจที่ รพ.เมือง Roskilde) ส่วนรายที่สองที่ตรวจพบเพิ่มเป็นชายชาวเดนมาร์กที่กลับจากการพักผ่อนเล่นสกีทางตอนเหนือของอิตาลีเช่นกัน โดยเข้ารับการตรวจที่ รพ. Rigshospitalet กรุงโคเปนเฮเกน เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2463 ที่ผ่านมา และได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 ในขณะที่รายที่สามเป็นชาวเดนมาร์ก ที่เพิ่งเดินทางกลับจากการประชุมที่นครมิวนิค ประเทศเยอรมนี โดยผู้ติดเชื้อรายที่สามนี้เป็นผู้ทำงานในโรงพยาบาล Aarhus University Hospital ด้วย และได้เข้าทำงานที่ รพ. หลังจากกลับจากการประชุม 3 วันก่อนที่จะเริ่มมีอาการและตรวจพบการติดเชื้อดังกล่าว ขณะนี้ มีการแยกตัวผู้ที่ได้ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อรายที่สาม จำนวน 30 คน เพื่อตรวจหาเชื้อ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบผู้ติดเชื้อในเดนมาร์กเพิ่มเติมอีก
3. ทางการเดนมาร์กได้แถลงย้ำถึงมาตรการที่ยังคงเน้นการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้ออย่างรวดเร็ว โดยการตรวจวินิจฉัย COVID-19 และแยกการรักษาผู้ป่วย ในขณะเดียวกันกับการติดต่อตามรอยบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเพื่อให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ โดยได้ประกาศขอให้ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในช่วง 14 วันที่ผ่านมา และเริ่มมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ และหายใจติดขัด หรือมีการติดต่อใกล้ชิดกับผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อ/ผู้ได้รับการยืนยันติดเชื้อ รีบติดต่อแพทย์ทันที
4. คำแนะนำการเดินทางของ กต. เดนมาร์กระบุว่า ไม่แนะนำให้เดินทางไปยังประเทศจีน (ยกเว้นฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน) และอิหร่าน (advise against) และให้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเดินทางไปยัง อิตาลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน (take special care)
https://www.sst.dk/…/En-person-der-er-blevet-undersoegt-paa…
https://stps.dk/…/tredje-danske-person-bekraeftet-smittet-…/
------------------------
สถานะวันที่ 27 ก.พ. 2563
เกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 (Corona Virus Disease 2019) สถานทูตขอประชาสัมพันธ์ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขเดนมาร์กให้พี่ๆ น้องๆ คนไทยได้ตรวจสอบตนเองต่อการติดเชื้อ COVID-19 ดังนี้
1. มีไข้ ไอ กลืนน้ำลายลำบาก และหายใจติดขัด ขอให้ตรวจสอบว่า
1) ในช่วง 14 วันที่ผ่านมาได้เดินทางไปประเทศดังนี้หรือไม่
- ตอนเหนือของอิตาลี (Emilia-Romagna, Lombardiet, Piemonte และ Veneto)
- จีน
- สิงคโปร์
- ฮ่องกง
- ญี่ปุ่น
- เกาหลีใต้
- อิหร่าน
หรือ
2) มีปฏิสัมพันธ์หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่
2. หากคิดว่าตนเองเป็นผู้มีความเสี่ยงข้างต้น อับดับแรกขอให้โทรหาแพทย์ประจำตัว โดยให้แจ้งว่าตนมีความสงสัยว่าจะติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยอาการก่อนที่จะรับเข้ารักษา ทั้งนี้ ห้ามเดินทางไป รพ ด้วยตนเองในลักษณะ walk-in โดยเด็ดขาด
ด้วยความเป็นห่วงจาก สอท ณ กรุงโคเปนเฮเกนค่ะ
--------------------
สถานทูตขอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 ในเดนมาร์ก ดังนี้
1. เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (27 กพ 63) สธ.เดนมาร์ก ได้แถลงข่าวว่า มีชายชาวเดนมาร์ก 1 ราย ที่อาศัยอยู่เมือง Roskilde ห่างจากกรุงโคเปนเฮเกน 40 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพนักงานของช่องทีวี TV2 ได้รับการตรวจพบว่าติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งในชั้นนี้ทางการเดนมาร์กได้กักบริเวณชายดังกล่าวให้อยู่ในบ้าน โดยชายดังกล่าวเพิ่งกลับจากการพักผ่อนเล่นสกีทางตอนเหนือของอิตาลี ส่วนของภรรยาและบุตรชายของชายดังกล่าวได้ถูกตรวจโรคเช่นเดียวกัน แต่ผลแสดงออกมาว่าไม่มีการติดเชื้อแต่อย่างใด
2. ในชั้นนี้ สธ.เดนมาร์ก อยู่ระหว่างการพยายามติดต่อบุคคลซึ่งมีประวัติการพบปะหรือมีปฏิสัมพันธ์กับชายดังกล่าวเพื่อขอให้มาเข้ารับการตรวจหาเชื้อต่อไป และคาดการณ์ว่า อาจมีการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มเติมอีกในอนาคต
3. ในชั้นนี้ ทางการเดนมาร์กได้เพิ่มมาตรการในการคัดกรองผู้ป่วย โดยขอให้ผู้ที่มีอาการชัดเจนว่าจะติดเชื้อ COVID-19 และเคยเดินทางไปยัง ปท ที่เป็นแหล่งระบาดของเชื้อติดต่อ รพ ที่ทางการเดนมาร์กกำหนดให้เป็นศูนย์รับผู้ป่วย จำนวน 6 แห่งทั่วเดนมาร์ก
ดังนั้น เพื่อให้พี่น้องคนไทยในเดนมาร์กเตรียมพร้อมรับมือและเป็นการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สถานทูตจึงขอประชาสัมพันธ์วิธีการป้องกันตนเองมา ณ ที่นี้ค่ะ
------------------------------
สถานะวันที่ 25 ก.พ. 2563
ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 5
ตามที่มีรายงานของทางการสาธารณรัฐประชาชนจีนพบว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มรุนแรงและมีการแพร่กระจายของโรคไปยังหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และคณะกรรมการภาวะฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (Emergency Committee convened by the WHO Director-General under the International Health Regulations (IHR 2005)) มีมติประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern; PHEIC) นั้น เพื่อเป็นการยกระดับการดำเนินมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคดังกล่าว และเพื่อเป็นการรวบรวมมาตรการที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ประกาศตั้งแต่ฉบับที่ 1-4 รวบรวมอยู่ในฉบับนี้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันถึงข้อมูลสำคัญและแนวทางปฏิบัติสำหรับการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ World Health Organization (WHO) ดังนี้
1. ประเทศและเขตปกครองพิเศษที่มีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการจาก World Health Organization (WHO) ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้แก่
ทวีปเอเชีย
– สาธารณรัฐประชาชนจีน
– ราชอาณาจักรไทย
– สาธารณรัฐสิงคโปร์
– ญี่ปุ่น
– สาธารณรัฐเกาหลี
– มาเลเซีย
– สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
– เครือรัฐออสเตรเลีย
– สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
– ราชอาณาจักรกัมพูชา
– สาธารณรัฐอินเดีย
– ราชอาณาจักรเนปาล
– สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
– สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
– สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
– รัฐอิสราเอล
– สาธารณรัฐเลบานอน
– รัฐคูเวต
ทวีปอเมริกา
– สหรัฐอเมริกา
– แคนาดา
ทวีปยุโรป
– สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
– สาธารณรัฐฝรั่งเศส
– สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
– สาธารณรัฐอิตาลี
– สหพันธรัฐรัสเซีย
– ราชอาณาจักรสเปน
– ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม
– สาธารณรัฐฟินแลนด์
– ราชอาณาจักรสวีเดน
ทวีปแอฟริกา
– สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
เขตปกครองพิเศษ
– ไต้หวัน
– เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
– เขตบริหารพิเศษมาเก๊า
2. ข้อมูลสำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.1 ขณะนี้มีการยืนยันแล้วว่าโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ (Human-to-Human Transmission) และยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนี้
2.2 ระหว่างเดินทางในต่างประเทศ ขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอ จาม หากเลี่ยงไม่ได้ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน
2.3 หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วยหรือตาย และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรวมถึงเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดี
2.4 หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
2.5 ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
2.6 รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2.7 หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทย ภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ มีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวมและมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
3. ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ให้บริการจากสถานีต้นทางในประเทศหรือเขตปกครองพิเศษตาม 1. ทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยการสังเกต หากพบผู้โดยสารมีอาการไข้หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ ณ สถานีต้นทางนั้นทันที หากการวินิจฉัยเห็นว่ามีความเสี่ยง ให้งดการออกบัตรขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) แก่ผู้โดยสารนั้น
4. ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ให้บริการจากสถานีต้นทางในประเทศไทยไปยังประเทศหรือเขตปกครองพิเศษตาม 1. พิจารณาดำเนินการตาม 3. ตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อสถานการณ์ และติดตามมาตรการป้องกันโรคติดต่อของหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศหรือเขตปกครองพิเศษปลายทางดังกล่าวด้วย
5. ขณะอยู่บนอากาศยาน ในกรณีที่พบผู้โดยสารที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศดำเนินการดังนี้
5.1 ให้ลูกเรือพิจารณาใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง (Personal Protective Equipment; PPE) ที่อยูใน Universal Precaution Kit
5.2 ให้ผู้โดยสารที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วย ผู้โดยสารที่อยู่ในแถวเดียวกับผู้โดยสารดังกล่าว รวมทั้งแถวข้างเคียงในสองแถวหน้าและสองแถวหลังสวมหน้ากากอนามัย (Medical Mask) และหมั่นทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ (Alcohol-based hand rub)
5.3 ในกรณีที่มีที่ว่าง ให้ย้ายผู้โดยสารที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยออกห่างจากผู้โดยสารอื่น ระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
5.4 ให้นักบินผู้ควบคุมอากาศยานแจ้งข้อมูลการตรวจพบผู้โดยสารที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศที่สถานีปลายทางทราบ เพื่อรายงานให้แก่ท่าอากาศยานปลายทาง พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มดังต่อไปนี้ ส่งให้เจ้าหน้าที่ ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ณ ท่าอากาศยานทุกแห่ง
5.4.1 General Declaration (ตาม Appendix 1. to ICAO Annex 9)
5.4.2 Public Health Passenger Locator Form (ตาม Appendix 13. to ICAO Annex 9)
6. ถ้ามีความจำเป็นเมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ได้รับรายงานตาม 5.4 ให้ท่าอากาศยานพิจารณาจัดลานจอดอากาศยานที่แยกออกมา (Isolated Aircraft Parking Position) เพื่อประโยชน์ในการกักกันโรคให้กับอากาศยานที่มีผู้โดยสารตาม 5.4
7. ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศแจ้งแนวทางปฏิบัติดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานีต้นทางและเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยานให้ทราบและถือปฏิบัติ และให้เจ้าหน้าที่ประจำอากาศยานประกาศเพิ่มเติมบนอากาศยานให้ผู้โดยสารได้รับทราบโดยทั่วกันด้วย
ทั้งนี้ จนกว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสิ้นสุดไป หรือมีประกาศอื่นใดเพิ่มเติม
ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
นายจุฬา สุขมานพ
ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
__________________________________________
The Civil Aviation Authority of Thailand Notification on Clinical Practice Guideline for the Prevention of Corona Virus Disease (COVID-19 (No. 5)
In reference to the Chinese Health Authorities recent information on the Corona Virus Disease (COVID-19), the epidemiological situation tends to be more critical and has affected many countries and various regions and the second meeting of the Emergency Committee convened by the WHO Director-General under the International Health Regulations (IHR) (2005) on 30 January 2020 regarding the outbreak of Corona Virus Disease (COVID-19), where it declared that the outbreak of Corona Virus Disease (COVID-19) constitutes a Public Health Emergency International Concern (PHEIC).
In order to elevate the level of preventive measures and to consolidate the 4 previously declared notifications, in accordance with the recommendation from Department of Disease Control, Ministry of Public Health and official reports from the World Health Organization (WHO), the Civil Aviation Authority of Thailand hereby issue the following information and guideline;
1. Countries which have been officially reported by WHO on 24 February 2020 as affected from the outbreak of Novel Coronavirus 2019 Pneumonia (COVID-19) are shown in the table below:
Asia
– People’s Republic of China
– Kingdom of Thailand
– Republic of Singapore
– Japan
– Republic of Korea
– Malaysia
– Socialist Republic of Vietnam
– Commonwealth of Australia
– Republic of the Philippines
– Kingdom of Cambodia
– Republic of India
– Kingdom of Nepal
– Democratic Socialist Republic of Sri Lanka
– United Arab Emirates
– Islamic Republic of Iran
– State of Israel
– Republic of Lebanon
– State of Kuwait
North America
– United States of America
– Canada
Europe
– Federal Republic of Germany
– French Republic
– United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland
– Republic of Italy
– Russian Federation
– Kingdom of Spain
– Kingdom of Belgium
– Republic of Finland
– Kingdom of Sweden
Africa
– Arab Republic of Egypt
Special Regions
– Taiwan
– Hong Kong Special Administrative Region
– Macau Special Administrative Region
2. Relevant information regarding Corona Virus Disease (COVID-19);
2.1 It is officially confirmed that the Novel Coronavirus 2019 Pneumonia is human-to-human transmissible and there is no particular vaccine to prevent it.
2.2 During travelling abroad, avoid being in crowded or polluted area. Avoid being in close contact with people suffering from acute respiratory infections. If it is unavoidable, wear sanitary mask for protection.
2.3 Avoid live animal markets, including the places where animals are slaughtered (wet markets). Avoid being in close contact with animals, especially sick or dead animals. Avoid eating food and meat which are not fully cooked and served hot.
2.4 Practice hygiene and cleanliness such as frequent hand-washing with soap and water or hand sanitizer containing at least 60% alcohol, especially after direct contact with ill people or their environment. Do not touch eyes, nose or mouth without necessity.
2.5 Do not use or share personal items (e.g. handkerchief, glass, towel) with others as respiratory infections can be transmitted via the secretion of the infected person.
2.6 Keep body temperature warm and take enough rest.
2.7 Within 14 days after arriving Thailand, if suffer from any of the acute respiratory infection, signs or symptoms, such as fever, cough, sore throat, runny nose or dyspnea, it is recommended to wear sanitary mask and visit the doctor or public health officer immediately. Notify the doctor or nurse of the travel information as there may be complications from serious pneumonia that can be critical and cause death.
3. Air operators operating flights from port of embarkation in countries or regions indicated in 1. shall perform primary exit screening by observing general conditions of the passengers at airport of embarkation. If any passenger is found with the signs or symptoms of acute respiratory infection such as fever, cough, sore throat, runny nose or dyspnea, air operator staff shall notify the doctor or public health officer at such port immediately. If any risk factor is found from the diagnosis, boarding pass shall not be issued to such passenger.
4. Air operators operating a flight from Thailand to the affected countries or regions shall consider to take action in accordance with 3. based on the appropriateness and necessity of the situation.
https://www.caat.or.th/th/archives/48340
เวลาทำการ: วันจันทร์ - วันศุกร์ 09:00 - 11:45 น. และ 13:00 - 15:45 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)